คุณครู เป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง จะเป็นรองก็แต่คุณพ่อคุณแม่เท่านั้น คนไทยเรามีอัธยาศัยน่ารัก ต่างจากชนชาติอื่นอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อจะไปสมัครเป็นศิษย์ของท่านผู้ใด ก็ไม่ใช่เพียงมุ่งแต่จะไปถ่ายทอดคัดลอกวิชาความรู้จากครูอาจารย์ เสร็จแล้วก็ตีเสมอ แต่ตั้งใจจริงจะไปมอบตัวเองเป็นลูกเต้าของท่านด้วย ไทยเราจึงนิยมใช้คำเต็มอย่างภาคภูมิว่า “ลูกศิษย์” หมายถึง ยินยอมมอบตัวลงเป็นทั้งลูกทั้งศิษย์ของท่านผู้เป็นครู
จากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยเรา จะเห็นความกตัญญูต่อครูได้เด่นชัด ตั้งแต่พิธีมอบตัวเป็นศิษย์ พ่อแม่จะพาลูกไปฝากฝังมอบกายถวายตัวแก่คุณครูพร้อมเครื่องสักการะ พร้อมทั้งออกปากอนุญาตให้เฆี่ยนตีสั่งสอนได้เหมือนลูก
คำว่า “ครู” เราได้นำมาใช้ในภาษาไทยมานานแล้ว และก็ดูเหมือนว่าเรายังไม่มีคำไหนมีความหมายพอที่จะใช้แทนคำว่า ครู ได้ ครูมีอยู่ 3 ชั้นด้วยกัน คือ
1. ครูประจำบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่
2. ครูประจำโรงเรียน ได้แก่ ครู อาจารย์ที่สอนศิลปวิทยาแก่ศิษย์
3. ครูประจำโลก ได้แก่ พระพุทธเจ้า
ครูทั้ง 3 ประเภทนี้ กล่าวถึงหน้าที่โดยย่อ ๆ ได้แก่
1. ครูสอนศิลปวิทยา
2. ครูบอกวิชาศีลธรรม
3. ครูแนะนำให้พ้นทุกข์
ครู 3 ระดับนี้ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความเป็นไปของชีวิตคน คือ
1. ครูประจำบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่
2. ครูประจำโรงเรียน ได้แก่ ครู อาจารย์ที่สอนศิลปวิทยาแก่ศิษย์
3. ครูประจำโลก ได้แก่ พระพุทธเจ้า
ครูทั้ง 3 ประเภทนี้ กล่าวถึงหน้าที่โดยย่อ ๆ ได้แก่
1. ครูสอนศิลปวิทยา
2. ครูบอกวิชาศีลธรรม
3. ครูแนะนำให้พ้นทุกข์
ครู 3 ระดับนี้ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความเป็นไปของชีวิตคน คือ
หากลูกตัว ชั่วโฉด โทษพ่อแม่
หากศิษย์แส่ ชั่วโฉด โทษครูสอน
ประชาราษฎร์ ชั่วโฉด โทษภูธร
เจ้านคร ชั่วโฉด โทษราชครู
หากศิษย์แส่ ชั่วโฉด โทษครูสอน
ประชาราษฎร์ ชั่วโฉด โทษภูธร
เจ้านคร ชั่วโฉด โทษราชครู
สรุปว่า ครูเป็นผู้รับผิดชอบต่อความดี ความเลวของศิษย์ในทิศ 6 พระพุทธเจ้าทรงยกย่องให้ครูเป็นมือขวาของโลก การที่เราเคารพสักการะบูชาครูทั้ง 3 ประเภทนี้ เพราะท่านเหล่านี้มีพระคุณ กล่าวคือ ครูประจำบ้าน คือ พ่อแม่ให้ชีวิต ครูที่โรงเรียนให้ความรู้ ครูของโลกให้ความดี
พระพุทธเจ้าตรัสถึงคุณสมบัติของครูที่เป็นปูชนียบุคคลว่า ต้องมีคุณสมบัติของครู 7 ประการอยู่ประจำใจ ได้แก่
1. ครูต้องทำตนให้ศิษย์รัก (ปิโย) ทั้งการแต่งกาย กิริยามารยาท และจิตใจก็เปี่ยมล้นด้วยเมตตากรุณา ยินดีโอบอุ้มช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ ยิ้มแย้มแจ่มใส
2. ใจหนัก และแน่นด้วยความรู้ (ครุ) ครูต้องมีทั้งความหนัก ทั้งความแน่น จึงน่าเคารพ
- หนัก คือ มีอัธยาศัยจิตใจหนัก หนักในเหตุผล ไม่โยกโคลงไปตามอารมณ์ ตระหนักในแบบธรรมเนียม ประเพณี ตระหนักในงาน ไม่กลัวภาระหนัก
- แน่น หมายถึง แน่นด้วยความรู้ ความสามารถ
3. เชิดชูคุณธรรม (ภาวนีโย) น่ายกย่อง คุณครูต้องมีชีวิตที่สะอาด สดใส เป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ที่ดีจริง ๆ ทำให้ศิษย์กล้าพูดยกย่องได้ตลอดเวลา และบูชาได้ตลอดกาล
4. พร้อมอบรมพร่ำสอน (วัตตา) คือ ปกครองศิษย์ 3 ประการตามที่คนโบราณสอน ได้แก่ สระน้ำ ต้นยอ กอไผ่
สระน้ำ หมายถึง น้ำเมตตา น้ำใจให้ลูกศิษย์ชุ่มเย็นเข้าใกล้แล้วเย็นใจ เกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตามคำสอนของครู
ต้นยอ หมายถึง ยามที่ศิษย์ประพฤติปฏิบัติตนตามโอวาท ไม่ละเมิดกฏข้อบังคับ หรือระเบียบของโรงเรียนก็ใช้วิธีการสรรเสริญให้ปรากฏแก่หมู่ลูกศิษย์
กอไผ่ ได้แก่ ไม้เรียว คือ ลงโทษเพื่อหลาบจำตามคำสุภาษิตที่ว่า
พระพุทธเจ้าตรัสถึงคุณสมบัติของครูที่เป็นปูชนียบุคคลว่า ต้องมีคุณสมบัติของครู 7 ประการอยู่ประจำใจ ได้แก่
1. ครูต้องทำตนให้ศิษย์รัก (ปิโย) ทั้งการแต่งกาย กิริยามารยาท และจิตใจก็เปี่ยมล้นด้วยเมตตากรุณา ยินดีโอบอุ้มช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ ยิ้มแย้มแจ่มใส
2. ใจหนัก และแน่นด้วยความรู้ (ครุ) ครูต้องมีทั้งความหนัก ทั้งความแน่น จึงน่าเคารพ
- หนัก คือ มีอัธยาศัยจิตใจหนัก หนักในเหตุผล ไม่โยกโคลงไปตามอารมณ์ ตระหนักในแบบธรรมเนียม ประเพณี ตระหนักในงาน ไม่กลัวภาระหนัก
- แน่น หมายถึง แน่นด้วยความรู้ ความสามารถ
3. เชิดชูคุณธรรม (ภาวนีโย) น่ายกย่อง คุณครูต้องมีชีวิตที่สะอาด สดใส เป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ที่ดีจริง ๆ ทำให้ศิษย์กล้าพูดยกย่องได้ตลอดเวลา และบูชาได้ตลอดกาล
4. พร้อมอบรมพร่ำสอน (วัตตา) คือ ปกครองศิษย์ 3 ประการตามที่คนโบราณสอน ได้แก่ สระน้ำ ต้นยอ กอไผ่
สระน้ำ หมายถึง น้ำเมตตา น้ำใจให้ลูกศิษย์ชุ่มเย็นเข้าใกล้แล้วเย็นใจ เกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตามคำสอนของครู
ต้นยอ หมายถึง ยามที่ศิษย์ประพฤติปฏิบัติตนตามโอวาท ไม่ละเมิดกฏข้อบังคับ หรือระเบียบของโรงเรียนก็ใช้วิธีการสรรเสริญให้ปรากฏแก่หมู่ลูกศิษย์
กอไผ่ ได้แก่ ไม้เรียว คือ ลงโทษเพื่อหลาบจำตามคำสุภาษิตที่ว่า
อันช่างหม้อตีหม้อไม่หวังสาน
ตีเอางานงามไซร้มิให้หนา
เหมือนอาจารย์ตีศิษย์ให้วิทยา
มิใช่ว่าประหารให้ไปอบาย
ตีเอางานงามไซร้มิให้หนา
เหมือนอาจารย์ตีศิษย์ให้วิทยา
มิใช่ว่าประหารให้ไปอบาย
5. เอื้ออาทรและอดทน (วจนักขโม) ครูต้องใจเย็น อดทนได้ต่อการซักถามไล่เลียง รวมทั้งการโต้แย้งของศิษย์ ไม่ใจน้อย ไม่โกรธง่าย เข้าทำนองที่ว่า มีน้ำใจประชาธิปไตยนั่นเอง
6. รู้จักกลย่อขยาย (คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา) อธิบายเรื่องที่ยากให้เข้าใจง่าย ครูที่ลูกศิษย์เคารพนับถือนั้นจะต้องมีความรู้ลึกซึ้งกว้างขวาง และเข้าใจอธิบายเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย และสนุก
7. ไม่ขายตัว และมั่วอบายมุข (โน จัฎฐาเน นิโยชเย) ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างของศิษย์ในทางที่ดี ตามที่ผู้รู้กล่าวไว้ว่า อย่าประพฤติตนขี้เกียจสอน อย่าเลิกก่อนเวลา อย่าเมาสุราเป็นนิตย์ อย่าติดบุหรี่ อย่าทะเลาะกัน อย่าเล่นการพนันเป็นนิสัย และอย่าหลงในลูกศิษย์
เมื่อวันครูมาถึงในวาระนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ครูระลึกถึง กระตุ้นเตือนบรรดาครูอาจารย์ให้เห็นความสำคัญของท่านเองในฐานะของครูอาจารย์ โดยหน้าที่จะต้องร่วมเสื่อมร่วมเจริญกับศิษย์ตนตลอดไปศิษย์ดีครูก็พลอยดีไปด้วย ศิษย์เลวครูก็พลอยเสียชื่อด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าศิษย์ดีก็นับว่าเป็นสง่าราศีแก่ครู เชิดชูซึ่งกันและกัน และทำหน้าที่แห่งครูผู้เป็นปูชนียบุคคลของศิษย์ด้วยหน้าที่ 5 ประการอย่างต่อเนื่อง คือ
1. แนะและนำศิษย์อย่างดี
2. ปรานีเรื่องศึกษา
3. ไม่ปิดบังศิลปวิทยา
4. ยกย่องให้ปรากฏ
5. ป้องกันให้หมดซึ่งภัยพิบัติ
ซึ่งศิษย์ก็ต้องถือว่า เป็นหน้าที่ที่ต้องสนองตอบด้วยลักษณะ 5 ประการเช่นเดียวกัน คือ
1. ลุกรับด้วยเคารพ
2. นอบน้อมคอยรับใช้
3. ตั้งใจฟังและเชื่อ
4. เอื้อเฟื้อปรนนิบัติ
5. เคร่งครัดวิชาการ
โดยผลสำเร็จแห่งหน้าที่ดังกล่าวย่อมนำความสุขสวัสดีมาให้แก่ส่วนรวมได้โดยแท้ ทั้งนี้เพราะผลแห่งการสร้างคนอย่างมีคุณภาพด้วยคุณธรรม และความรู้อันดีเยี่ยมนั่นเอง เป็นศรีของครูดังบทนิพนธ์ของพระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ที่ยืนยันให้ปรากฏไว้ว่า
อันครูดี ศรีของครู ชูด้วยศิษย์
ศิษย์ยิ่งช่วย ชูศรีครู ยิ่งชูศรี
ครูชูศิษย์ เพราะทำกิจ สอนศิษย์ดี
ศิษย์ชูครู ชูเพราะมี ดีต่อครู
ศิษย์ยิ่งช่วย ชูศรีครู ยิ่งชูศรี
ครูชูศิษย์ เพราะทำกิจ สอนศิษย์ดี
ศิษย์ชูครู ชูเพราะมี ดีต่อครู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น