วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ลักษณะของครูดี

ครูที่ดี
       คุณครู เป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง จะเป็นรองก็แต่คุณพ่อคุณแม่เท่านั้น  คนไทยเรามีอัธยาศัยน่ารัก ต่างจากชนชาติอื่นอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อจะไปสมัครเป็นศิษย์ของท่านผู้ใด ก็ไม่ใช่เพียงมุ่งแต่จะไปถ่ายทอดคัดลอกวิชาความรู้จากครูอาจารย์ เสร็จแล้วก็ตีเสมอ แต่ตั้งใจจริงจะไปมอบตัวเองเป็นลูกเต้าของท่านด้วย ไทยเราจึงนิยมใช้คำเต็มอย่างภาคภูมิว่า “ลูกศิษย์” หมายถึง ยินยอมมอบตัวลงเป็นทั้งลูกทั้งศิษย์ของท่านผู้เป็นครู
       จากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยเรา จะเห็นความกตัญญูต่อครูได้เด่นชัด ตั้งแต่พิธีมอบตัวเป็นศิษย์  พ่อแม่จะพาลูกไปฝากฝังมอบกายถวายตัวแก่คุณครูพร้อมเครื่องสักการะ พร้อมทั้งออกปากอนุญาตให้เฆี่ยนตีสั่งสอนได้เหมือนลูก
คำว่า “ครู” เราได้นำมาใช้ในภาษาไทยมานานแล้ว และก็ดูเหมือนว่าเรายังไม่มีคำไหนมีความหมายพอที่จะใช้แทนคำว่า ครู ได้  ครูมีอยู่ 3 ชั้นด้วยกัน คือ
1.  ครูประจำบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่
2.  ครูประจำโรงเรียน ได้แก่  ครู อาจารย์ที่สอนศิลปวิทยาแก่ศิษย์
3.  ครูประจำโลก ได้แก่  พระพุทธเจ้า
ครูทั้ง 3 ประเภทนี้ กล่าวถึงหน้าที่โดยย่อ ๆ ได้แก่
1.  ครูสอนศิลปวิทยา
2.  ครูบอกวิชาศีลธรรม
3.  ครูแนะนำให้พ้นทุกข์
ครู 3 ระดับนี้ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความเป็นไปของชีวิตคน คือ
หากลูกตัว    ชั่วโฉด  โทษพ่อแม่ 
หากศิษย์แส่    ชั่วโฉด  โทษครูสอน
ประชาราษฎร์   ชั่วโฉด  โทษภูธร
เจ้านคร  ชั่วโฉด  โทษราชครู

กัลยาณนิมิตร

กัลยาณมิตร 
คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตรธรรม 7)
  1. ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
  2. ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
  3. ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
  4. วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
  5. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
  6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
  7. โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย


คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

คุณธรรม 8 ประการ 


1.ขยัน
      ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ
อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค  ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา
แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
 2. ประหยัด
 ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย
ฟุ้งเฟ้อ
  3. ความซื่อสัตย์
 ความซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ
ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ
 4. มีวินัย
มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม